Blog

Proximity Sensor

by Mr.Jekon Park | 09/08/2016

มารู้จักการทำงานของ Proximity Sensor เซนเซอร์ตรวจจับ ระยะใกล้

 

Proximity Sensor จะทำงานโดยปล่อยสนามแม่เหล็กไฟฟ้าหรือลำรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า (เช่นรังสีอินฟราเรด) และมองหาการเปลี่ยนแปลงของสนามหรือสัญญาณที่ส่งกลับมา วัตถุที่กำลังตรวจหามักจะถูกเรียกว่าเป้าหมาย เป้าหมายต่างกันก็ใช้ตัวรับรู้ต่างกัน เช่นถ้าเป้าหมายเป็นพลาสติก ตัวรับรู้ก็จะเป็นแบบเก็บประจุ หรือ photoelectric ถ้าเป้าหมายเป็นโสหะ ตัวรับรู้ก็จะเป็นแบบเหนี่ยวนำ เป็นต้น

ระยะห่างสูงสุดที่ Proximity  Sonsor รู้นี้จะสามารถตรวจพบได้จะถูกกำหนดให้เป็น "ระยะกำหนด" (nominal range) Proximity Sensor บางตัวสามารถปรับระยะกำหนดได้หรือวิธีการรายงานระยะห่างที่วัดได้อีกด้วย

Proximity Sensor มีความน่าเชื่อถือที่สูงและอายุการทำงานยืนยาว เพราะว่ามันไม่มีชิ้นส่วนกลไกที่เคลื่อนไหวและไม่มีการสัมผัสทางกายระหว่าง Proximity Sensor และเป้าหมาย

Proximity Sensor ถูกใช้ทั่วไปบนโทรศัพท์อัจฉริยะเพื่อตรวจหา (และกระโดดข้าม) การแตะหน้าจอโดยไม่ได้ตั้งใจขณะกำลังถือโทรสัพท์ติดกับหูเวลาพูดสาย และมันยังถูกใช้ในการเฝ้าดูการสั่นของเครื่องยนต์เพื่อวัดการแปร เปลี่ยนของระยะทางระหว่างเพลากับแบริ่งที่รองรับมันอยู่ หน้าที่จะพบเห็นทั่วไปในเครื่องกังหันไอน้ำขนาดใหญ่ เครื่องอัดความดันด้วยก๊าซ และมอเตอร์ที่ใช้แบริ่งแบบปลอกแขนเสื้อ

หลักการทำงานของ Proximity Sensor

               บริเวณส่วนหัวของเซนเซอร์จะมีสนามแม่เหล็กซึ่งมีความถี่สูง โดยได้รับสัญญาณมาจากวงจรกำเนิดความถี่ในกรณีที่มีวัตถุหรือชิ้นงานที่เป็น โลหะเข้ามาอยู่ในบริเวณที่สนามแม่เหล็กสามารถส่งไปถึง จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงค่าความเหนี่ยวนำ จากเหตุการที่เกิดขึ้นทำให้เกิดการหน่วงออสซิเลท (Oscilate) ลดลงไปหรือบางทีอาจถึงจุดที่หยุดการออสซิลเลท และเมื่อนำวัตถุนั้นออกจากบริเวณตรวจจับ วงจรกำเนิดคลื่นความถี่ก็เริ่มต้นการออสซิเลทใหม่อีกครั้งหนึ่ง สภาวะดังกล่าวจะถูกแยกแยะได้ด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ภายในหลังจากนั้น ก็จะส่งผลไปยัง Out Put ว่าทำงานหรือไม่ทำงาน โดยทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับชนิดของเอาต์พุตว่าเป็นแบบใด เพื่อเป็นการลดจินตนาการในการทำความเข้าใจการทำงานของเซนเซอร์ชนิดนี้